วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Telling Time (การบอกเวลา)

การบอกเวลา (Telling Time)


การบอกเวลาในภาษาอังกฤษไม่ยากอย่างที่คุณคิดเลยนะคะ
เพียงแค่เรารู้เวลาหรือดูเข็มของนาฬิกาเป็น

การบอกเวลาในภาษาอังกฤษ เราจะแบ่งออกเป็นสองส่วนดังนี้

 1. ฝั่งขวา จะใช้คำว่า past เมื่อต้องการบอกเวลาและนาที
2. ฝั่งซ้ายจะใช้คำว่า to เมื่อบอกเวลาและเป็นการแสดงให้เห็นว่าเหลืออีกกี่นาทีจะถึงเวลา...ต่อไป

เส้นของเวลาเราจะใช่  am. และ pm. เพื่อชี้เฉพาะมากยิ่งขึ้นว่าเวลาไหน และใช้คำว่า o' clock เมื่อเข็มยาวอยู่เลข 12 คือเปลี่ยนชัวโมงใหม่

แต่ส่วนใหญ่ เราจะใช้ am. / pm. มากในการเขียน เพราะ การเขียนเราไม่รู้ว่าผู้พูดต้องการสื่อสารอะไรตอนไหน เวลาไหน

ตัวอย่างการใช้ 

It's ten o'clock.

It's ten to nine.

etc.

เราสามารถเข้าไปเรียนรู้เพิ่มเติม ได้ที่วีดีโอการเรียนรู้

http://www.youtube.com/watch?v=KMlOB-xaP0g&feature=youtu.be







วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

เทคนิคการอ่าน reading techniques



การอ่านไม่ใช่สิ่งที่น่าโปรดปรานนัก โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ยิ่งทำให้ความรู้สึกอยากจะอ่านเหลือน้อยเต็มที แต่การที่เราอ่านเยอะเราก็มีความรู้เยอะ และถ้าสามารถอ่านภาษาอังกฤษได้นอกจากจะได้ความรู้ ยังสามารถนำไปใช้ในการเรียนได้ และสามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างแน่นอน

วันนี้เรามาดูเทคนิคการอ่านที่จะช่วยให้เรารักการอ่าน เพราะเราอ่านรู้เรื่อง ....... 






1. เริ่มจากหนังสือง่ายๆ
สำหรับคนที่หัดใหม่ แม้แต่หนังสือเรียนของเด็ก นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ก็อาจจะยากจนเกินไป เพราะฉะนั้นไม่ต้องอายเลยที่จะไปซื้อนิทานภาษาอังกฤษของเด็ก 3 ขวบมาอ่าน ลองนึกถึงตอนเราฝึกภาษาไทยใหม่ๆตอนเด็ก เราก็อ่านนิทานของเด็ก 3 ขวบมาแล้ว ซึ่งจะทำให้เข้าใจและจับรูปแบบประโยคง่ายขึ้น







2. อ่านมากกว่าคนอื่น
ยิ่งทำอะไรมาก เราก็จะยิ่งเชี่ยวชาญมาก และถ้าคนอื่นอ่านแค่รอบเดียวรู้เรื่อง เราก็อาจจะต้องอ่านตั้งแต่ 2 รอบ 3 รอบ หรือกระทั่ง 4 รอบให้เข้าใจทั้งหมด แต่ก็อย่าเพิ่งท้อถอย แนะนำว่าให้พกหนังสือติดตัวตลอดเวลา และหาโอกาสอ่านบ่อยๆ อ่านในทุกๆที่ เพราะคนเราเวลาว่างที่อยู่เฉยๆวันนึงมีเยอะพอสมควร




                                                   อ่านมากก็รู้มากอย่าลืม!!!









3. ใช้เทคนิคอ่านแบบ Skimming
คือการอ่านรอบแรกแบบผ่านๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมว่าพูดถึงอะไร และเนื้อเรื่องทั้งหมดนั้นเป็นอย่างไร จากนั้นรอบที่ 2 ก็เริ่มจับใจความสำคัญ จดโน้ต เน้นศัพท์ที่ไม่เข้าใจ หาคำศัพท์ที่มีความหมายหลัก จะช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้น







4. อย่าใช้ดิคชันนารีบ่อยๆ
แม้การเปิดดิคชันนารี จะช่วยให้เราเข้าใจความหมายของแต่ละคำ แต่การอ่านไปเปิดไปเกือบทุกคำ มันจะทำให้เราไม่รู้จักการอ่านจับใจความโดยข้ามศัพท์ที่ไม่รู้เรื่องไป เชื่อรึปล่าวว่าฝรั่งหลายคนก็ไม่เข้าใจทุกคำศัพท์ แต่ก็อ่านข้ามโดยอาศัยคำอื่นๆมาช่วยแปลความหมาย และค่อยมาเปิดหาความหมายคำที่ไม่รู้จริงๆในตอนท้าย







5. สู้ให้สุด และห้ามท้อ
เรื่องนี้สำคัญที่สุด หลายคนอาจจะท้อเพียงเพราะเจอคนรอบข้างบอกว่า อ่านหนังสือภาษาอังกฤษทำไม อ่านไปก็ไม่เก่งขึ้น หรือเห็นบางคนมาหัดอ่านทีหลัง แล้วไปได้เร็วกว่า เลยเกิดอาการน้อยใจ ขอให้ตั้งเป้าหมายไปที่ตัวเราคนเดียว ดูว่าเราพัฒนาขึ้นจากเมื่ออาทิตย์ก่อน เดือนก่อนหรือไม่ ตั้งเป้าระยะยาวไว้เป็นปีๆ แล้วพยายามทำตามเป้าช้าๆโดยตั้งใจ




ถ้าเราทำได้ 
แม่ว่าจะเป็นหนังสือแบบไหน
 เยอะแค่ไหน  
เราก็ไหวแน่นอน




หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเกิดประโยชน์แก่ผู้ที่ได้นำไปใช้นะคะ 

ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจเรา 
ดังนั้นเราอย่าเพิ่งท้อแท้ ท้อใจนะคะ