วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Telling Time (การบอกเวลา)

การบอกเวลา (Telling Time)


การบอกเวลาในภาษาอังกฤษไม่ยากอย่างที่คุณคิดเลยนะคะ
เพียงแค่เรารู้เวลาหรือดูเข็มของนาฬิกาเป็น

การบอกเวลาในภาษาอังกฤษ เราจะแบ่งออกเป็นสองส่วนดังนี้

 1. ฝั่งขวา จะใช้คำว่า past เมื่อต้องการบอกเวลาและนาที
2. ฝั่งซ้ายจะใช้คำว่า to เมื่อบอกเวลาและเป็นการแสดงให้เห็นว่าเหลืออีกกี่นาทีจะถึงเวลา...ต่อไป

เส้นของเวลาเราจะใช่  am. และ pm. เพื่อชี้เฉพาะมากยิ่งขึ้นว่าเวลาไหน และใช้คำว่า o' clock เมื่อเข็มยาวอยู่เลข 12 คือเปลี่ยนชัวโมงใหม่

แต่ส่วนใหญ่ เราจะใช้ am. / pm. มากในการเขียน เพราะ การเขียนเราไม่รู้ว่าผู้พูดต้องการสื่อสารอะไรตอนไหน เวลาไหน

ตัวอย่างการใช้ 

It's ten o'clock.

It's ten to nine.

etc.

เราสามารถเข้าไปเรียนรู้เพิ่มเติม ได้ที่วีดีโอการเรียนรู้

http://www.youtube.com/watch?v=KMlOB-xaP0g&feature=youtu.be







วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

เทคนิคการอ่าน reading techniques



การอ่านไม่ใช่สิ่งที่น่าโปรดปรานนัก โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ยิ่งทำให้ความรู้สึกอยากจะอ่านเหลือน้อยเต็มที แต่การที่เราอ่านเยอะเราก็มีความรู้เยอะ และถ้าสามารถอ่านภาษาอังกฤษได้นอกจากจะได้ความรู้ ยังสามารถนำไปใช้ในการเรียนได้ และสามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างแน่นอน

วันนี้เรามาดูเทคนิคการอ่านที่จะช่วยให้เรารักการอ่าน เพราะเราอ่านรู้เรื่อง ....... 






1. เริ่มจากหนังสือง่ายๆ
สำหรับคนที่หัดใหม่ แม้แต่หนังสือเรียนของเด็ก นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ก็อาจจะยากจนเกินไป เพราะฉะนั้นไม่ต้องอายเลยที่จะไปซื้อนิทานภาษาอังกฤษของเด็ก 3 ขวบมาอ่าน ลองนึกถึงตอนเราฝึกภาษาไทยใหม่ๆตอนเด็ก เราก็อ่านนิทานของเด็ก 3 ขวบมาแล้ว ซึ่งจะทำให้เข้าใจและจับรูปแบบประโยคง่ายขึ้น







2. อ่านมากกว่าคนอื่น
ยิ่งทำอะไรมาก เราก็จะยิ่งเชี่ยวชาญมาก และถ้าคนอื่นอ่านแค่รอบเดียวรู้เรื่อง เราก็อาจจะต้องอ่านตั้งแต่ 2 รอบ 3 รอบ หรือกระทั่ง 4 รอบให้เข้าใจทั้งหมด แต่ก็อย่าเพิ่งท้อถอย แนะนำว่าให้พกหนังสือติดตัวตลอดเวลา และหาโอกาสอ่านบ่อยๆ อ่านในทุกๆที่ เพราะคนเราเวลาว่างที่อยู่เฉยๆวันนึงมีเยอะพอสมควร




                                                   อ่านมากก็รู้มากอย่าลืม!!!









3. ใช้เทคนิคอ่านแบบ Skimming
คือการอ่านรอบแรกแบบผ่านๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมว่าพูดถึงอะไร และเนื้อเรื่องทั้งหมดนั้นเป็นอย่างไร จากนั้นรอบที่ 2 ก็เริ่มจับใจความสำคัญ จดโน้ต เน้นศัพท์ที่ไม่เข้าใจ หาคำศัพท์ที่มีความหมายหลัก จะช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้น







4. อย่าใช้ดิคชันนารีบ่อยๆ
แม้การเปิดดิคชันนารี จะช่วยให้เราเข้าใจความหมายของแต่ละคำ แต่การอ่านไปเปิดไปเกือบทุกคำ มันจะทำให้เราไม่รู้จักการอ่านจับใจความโดยข้ามศัพท์ที่ไม่รู้เรื่องไป เชื่อรึปล่าวว่าฝรั่งหลายคนก็ไม่เข้าใจทุกคำศัพท์ แต่ก็อ่านข้ามโดยอาศัยคำอื่นๆมาช่วยแปลความหมาย และค่อยมาเปิดหาความหมายคำที่ไม่รู้จริงๆในตอนท้าย







5. สู้ให้สุด และห้ามท้อ
เรื่องนี้สำคัญที่สุด หลายคนอาจจะท้อเพียงเพราะเจอคนรอบข้างบอกว่า อ่านหนังสือภาษาอังกฤษทำไม อ่านไปก็ไม่เก่งขึ้น หรือเห็นบางคนมาหัดอ่านทีหลัง แล้วไปได้เร็วกว่า เลยเกิดอาการน้อยใจ ขอให้ตั้งเป้าหมายไปที่ตัวเราคนเดียว ดูว่าเราพัฒนาขึ้นจากเมื่ออาทิตย์ก่อน เดือนก่อนหรือไม่ ตั้งเป้าระยะยาวไว้เป็นปีๆ แล้วพยายามทำตามเป้าช้าๆโดยตั้งใจ




ถ้าเราทำได้ 
แม่ว่าจะเป็นหนังสือแบบไหน
 เยอะแค่ไหน  
เราก็ไหวแน่นอน




หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเกิดประโยชน์แก่ผู้ที่ได้นำไปใช้นะคะ 

ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจเรา 
ดังนั้นเราอย่าเพิ่งท้อแท้ ท้อใจนะคะ

วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Describing people



การบรรยายลักษณะบุคคล เป็นการอธิบายว่าแต่ละคนมีลักษณะอย่างไร
 เป็นการบอกลักษณะที่เฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น 


ลักษณะส่วนมากที่นิยมอธิบายให้รู้จัก
 ถ้าบอกลักษณะต่างๆเหล่านี้แล้วจะทำให้รู้ได้ง่ายขึ้น

อายุ มีทั้งวัยหนุ่มสาว วัยผู้ใหญ่ และสูงวัย 


ความสูง มีระดับสูง  สูงปานกลาง และสูงน้อย หรือเตี้ย 
ส่วนมากในการพูดเราจะไม่แทนคนที่มีส่วนสูงน้อยว่าเตี้ย เพราะไม่สุภาพซักเท่าไหร่
 เราแทนว่า ตัวเล็ก  จะดีกว่านะคะ


รูปร่าง ที่พบส่วนมาก มีสามรูปร่างนี้ คือ อ้วน หุ่นดี และผอม 
อันนี้ก็เช่นกัน คนอ้วนมักจะไม่ชอบให้เรียนตัวเองว่าอ้วนหรอกค่ะ 
ลองหาคำพูดที่น่ารักเรียกพวกเขานะคะ


ทรงผม มีทั้ง ตรง ลอน หยิก และ หัวล้านหรือไม่มีผมนะคะ 
อย่าไปเผลอเรียกใครว่าหัวล้านนะคะ 
อาจจะเป็นความจริง แต่ก็ไม่ดีหรอกค่ะ 


ผมยาว  ผมประบ่า ผมสั้น


สีผมนั้นมีหลากหลาย แต่ส่วนมากสีเหล่านี้เป็นสีปกติที่มีนะคะ


ตาของเรามีหลายสี แล้วแต่ว่าจะอยู่เชื้อชาติไหน ประเทศอะไรนะคะ


นี่คือลักษณะของคนมีหนวด เครา บางคนอาจจะมีแค่เครา 
และบางคนอาจจะมีแค่หนวดก็ได้นะคะ